จิตวิทยาสายดาร์ก เมื่อนักขายตรงมาแชร์ทริกดาร์กๆ

หนังสือจิตวิทยาสายดาร์ก

จิตวิทยาสายดาร์ก เล่มนี้อธิบายถึงวิธีล้างสมอง อย่างมีจุดประสงค์จะช่วยให้ผลลัพธ์ของการอ่านเพิ่มขึ้น โดยใช้คำพูดควบคุมจิตใจผู้ฟัง ผู้เขียนมีความต้องการที่จะทำหนังสือที่ช่วยให้ผู้อ่านทุกคนสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารได้ จิตวิทยาสายดาร์ก สิ่งที่ผู้อ่านจะได้จากหนังสือเล่มนี้หลักๆมีอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน คือ “การพัฒนาทักษะ การสื่อสาร” และ “การไม่ถูกหลอกง่ายๆ จิตวิทยาสายดาร์ก อย่างมีจุดประสงค์จะช่วยให้ผลลัพธ์ของการอ่านเพิ่มขึ้นหลายเท่า ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของหนังสือผู้เขียนได้อธิบายเกี่ยวกับแต่ละประเด็นอย่างง่ายๆเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจจุดประสงค์ในการอ่านหนังสือเล่มนี้ อ่านเพิ่มเติม>รีวิวหนังสือ

รีวิวสรุปเนื้อหาจากหนังสือ จิตวิทยา สายดาร์ก

ความจริงที่ว่า “คู่มือการพูด” ไม่ได้ช่วยให้พูดเก่งขึ้น

การสื่อสารของ จิตวิทยา สายดาร์ก สำหรับคนที่พูดเก่งไม่ใช่คนที่ใช้คำพูดได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่เป็นคนที่พูดแล้วสื่อสารให้ถึงใจอีกฝ่ายได้ ซึ่งทักษะนี้จำเป็นในการสื่อถึงใจอีกฝ่ายไม่ใช่วิธี ใช้คำพูดที่เหมาะสม แต่เป็นวิธีสร้างความประทับใจที่เหมาะสม ในการพูดเก่ง ไม่ใช่พูดตามหลักไวยากรณ์ที่ถูกต้องในรวดเดียว แต่เป็นการพูดที่ชักจูงอีกฝ่ายได้ต่างหาก

การจะพูดเก่งหรือไม่เก่งตัดสินกันตอน “ก่อนพูด”

ตามกฎของเมห์ราเบียน คนอื่นใช้ประเมินความประทับใจในตัวเรามีสัดส่วนดังต่อไปนี้

  • เนื้อหาของคำพูด 7%
  • น้ำเสียง 38%
  • รูปลักษณ์ภายนอกและภาษากาย 55%

ข้อมูลจากคำพูดส่งผลต่อความประทับใจแค่ 7% เท่านั้นจึงแทบไม่มีความสำคัญ ข้อมูลจากการได้ยินมักถูกมองข้ามแต่ส่งผลต่อความประทับใจถึง 38% จึงมีความสำคัญระดับกลาง ข้อมูลจากการมองเห็นส่งผลต่อความประทับใจถึง 55% มีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งจึงมีความสำคัญมาก สิ่งสำคัญคือ ผู้พูดมีรูปลักษณ์ภายนอกแบบใด พูดด้วยท่าทางอย่างไร และใช้น้ำเสียงแบบไหน ถึงจะหน้าตาไม่ดี แต่ก็ต้องทำตัวให้ดูดีเข้าไว้ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม คนเรามักให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกก่อนเสมอ ความขี้เหร่ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด แต่เป็นสิ่งที่จิตใจของเราสร้างขึ้นมาภายหลังต่างหาก

วิธีทำให้คนอื่นตั้งใจฟังคุณในพริบตา

เทคนิคที่จะช่วยให้ผู้คนตั้งใจฟังคุณมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดเทคนิคนี้ง่ายมาก และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม นำไปใช้ได้ทันที

คุณคิดว่ามันน่าจะเป็นประโยคแบบไหน ?

ใช่แล้วคำตอบที่ถูกต้องก็คือ “ประโยคคำถาม” ถ้าคุณเอาแต่พูดอยู่ฝ่ายเดียวผู้ฟังก็จะฟังอย่างเดียวโดยไม่คิดตามวิธีป้องกันปัญหานี้ก็คือ ตั้งคำถามให้ผู้ฟังได้ใช้สมองคิด

วิธีตั้งคำถามง่ายที่สุดในโลก จำไว้แค่นี้ก็พอ “คุณคิดยังไง” โดยพื้นฐานแล้วไม่มีใครรู้สึกดีกับการที่ต้องฟังคนอื่นพูดอยู่ฝ่ายเดียวเพราะฉะนั้นลองตั้งคำถามทำนองว่า “คุณคิดยังไงกับเรื่องนี้” ดู

แค่เว้นจังหวะการพูดผู้ฟังก็มีสมาธิจดจ่อมากขึ้น

การเว้นจังหวะการพูดที่ว่าหมายถึงการนิ่งเงียบเป็นเวลาสั้นๆ ในระหว่างการสนทนา การนิ่งเงียบชั่วครู่จะช่วยดึงความสนใจและเพิ่มสมาธิของผู้ฟัง แค่นี้เงียบสัก 1-3 วินาทีก็ให้ผลลัพธ์เหลือเฟือ

คุยเก่ง กับ พูดเก่ง ไม่เหมือนกัน

การคุยคือการสื่อสาร 2 ทางของคู่สนทนา ส่วนการพูดคือการสื่อสารอยู่ฝ่ายเดียว ทักษะการฟังช่วยให้คุณกลายเป็นคนคุยเก่งได้

มีคนมากมายที่เอาแต่ฝึกทักษะการพูด โดยละเลยทักษะการฟังที่สำคัญกว่าทักษะการพูดถึง 2 เท่า หากทำแบบนี้ก็ไม่มีทางคุยเก่งขึ้นได้เลย

ทำยังไงให้คนฟังเรา

  • สำคัญกว่าคำพูด คือ ภาพลักษณ์
  • ทำให้อีกฝ่ายคิดว่า “ควรรับฟังคำพูดของคนคนนี้”
  • รูปลักษณ์ภายนอก ที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูด เช่น ชุดของนักมายากล
  • เราจะแสดงความเป็นตัวเองได้ ก็ต่อเมื่อเราประสบความสำเร็จแล้ว

วิธีพูดให้คนชอบ

  1. เปิดการสนทนาด้วยการเยินยอมและประจบประแจง
  • แม้ว่าคุณจะเป็นหัวหน้าเขา ก็ต้องประจบลูกน้อง
  • แม้จะชมไปเรื่อยเปื่อยเราก็ไม่มีใครรู้สึกแย่หรอก
  • การประจบคน ไม่ได้ทำให้ชีวิตพัง แต่ถ้าไม่ประจบคนอื่น เราจะไม่ได้เริ่มอะไรเลย
  • คนเรามักจะฟังคำพูดของคนที่ตัวเองชื่นชอบ
  • ถ้าเราแกล้งๆ ชมคนที่เราไม่ชอบ สุดท้ายเราจะมองเห็นข้อดีของเขาจริงๆ
  • การชมว่าเขาเก่ง เล่นกับความคาดหวัง เดี๋ยวสุดท้าย เขาจะคิดว่าตัวเองเก่ง แล้วก็จะเก่งขึ้นจริงๆ แต่อย่าคาดหวังเว่อร์จนเกินจริง
  • อย่าชมเยอะ เดี๋ยวเหลิง ไม่มีอยู่จริง
  1. ชมแบบ มีความขัดแย้งทางอารมณ์
  • คล้ายๆ โมโห ก่อนชม จะให้ชมได้ดีขึ้น
  • เช่น ทำหน้านิ่งๆ …นายนี่…. หัวดีนะ
หนังสือจิตวิทยาสายดาร์ก

เทคนิคที่ใช้ในการควบคุมความรู้สึกคน

รีเฟรมมิ่ง (refleming) จิตวิทยา สายดาร์ก คือการเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสิ่งหนึ่งให้ต่างไปจากเดิม เช่นเปลี่ยนจากการมองว่าเหลือน้ำแค่ครึ่งแก้ว เป็นเหลือน้ำตั้งครึ่งแก้ว ประเด็นสำคัญคือวิธีพูด แค่เปลี่ยนวิธีพูดเล็กน้อยโดยไม่โกหก ก็ให้ความรู้สึกต่างกันราวฟ้ากับเหวแล้ว โดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อ่อนไหวกับเรื่องการขาดทุนมากกว่าการได้กำไร สรุปก็คือ อยากให้คนตรงหน้ามองเรื่องบางอย่าง จากมุมมองไหนก็ขึ้นอยู่กับวิธีพูด